ต้นทุนคริปโตที่ขายคำนวณอย่างไร

ต้นทุนคริปโตที่ขายคำนวณอย่างไร

การคำนวณกำไรหรือขาดทุนจากการขายคริปโตคงจะไม่มีความซับซ้อนอะไรหากว่าเรามีการซื้อคริปโตนั้นมาในครั้งเดียว เราก็สามารถจะใช้ต้นทุนนั้นมาคำนวณกำไรหรือขาดทุนในการขายแต่ละครั้งได้เลย  หรือว่าซื้อมาหลายๆ ครั้ง แต่ขายออกไปทั้งหมดในคราวเดียว ก็สามารถที่จะนำต้นทุนรวมที่จ่ายไปในการซื้อทั้งหมดมาคำนวณได้โดยง่ายเช่นกัน

แต่ถ้าหากเราซื้อคริปโตนั้น มาหลายๆ ครั้ง แล้วขายออกไปบางส่วนหละ ต้นทุนของส่วนที่ขายจะคำนวณอย่างไร ?

การคำนวณต้นทุนของคริปโตนั้นจะต้องคำนวณแยกในแต่ละเหรียญ ซึ่งสามารถทำได้สองวิธี ดังนี้

 1. วิธีเข้าก่อน – ออกก่อน (First in – First out)

2. วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average)

 

1) วิธีเข้าก่อน – ออกก่อน (First in – First out)  คือคริปโตที่ซื้อเข้ามาก่อน จะถูกขายออกไปก่อนตามลำดับ ตัวอย่างเช่น

วันที่ รายการ จำนวนเหรียญ ราคาต่อเหรียญ (บาท) มูลค่ารวม
1 ซื้อเหรียญ A 10 100 1,000
2 ซื้อเหรียญ A 20 150 3,000
3 ซื้อเหรียญ A 15 200 3,000
4 ขายเหรียญ A 30 400 12,000

ต้นทุนของเหรียญ A ที่ขาย 30 เหรียญ จะเท่ากับ 4,000 บาท ซึ่งประกอบด้วยรายการซื้อวันที่ 1 และวันที่ 2

วันที่ รายการ จำนวนเหรียญ ราคาต่อเหรียญ (บาท) มูลค่ารวม
1 ซื้อเหรียญ A 10 100 1,000
2 ซื้อเหรียญ A 20 150 3,000

ดังนั้นผลกำไรจากการขายเหรียญจะเท่ากับ 8,000 บาท (12,000-4,000)
สำหรับต้นทุนของเหรียญ A ที่คงเหลือ 15 เหรียญจะเท่ากับ 3,000 บาท

ข้อดีของการคำนวณต้นทุนแบบ FIFO จะทำให้เราทราบถึงอัตราผลตอบแทน (ROI) ที่แท้จริงสำหรับเงินลงทุนก้อนนั้นๆ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว

2) วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average)  คือต้นทุนต่อหน่วยของคริปโตจะถูกถัวเฉลี่ยในทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น

วันที่ รายการ จำนวนเหรียญ ราคาต่อเหรียญ (บาท) มูลค่ารวม ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย
1 ซื้อเหรียญ A 10 100 1,000 100
2 ซื้อเหรียญ A 20 150 3,000 133.33*
3 ซื้อเหรียญ A 15 200 3,000 155.56**
4 ขายเหรียญ A 30 400 12,000 155.56
*133.33 = (1,000+3,000) / (10+20)
**155.56 = (1,000+3,000+3,000) / (10+20+15)
ต้นทุนของเหรียญที่ขาย 30 เหรียญ จะเท่ากับ 4,666.80 บาท (155.56 x 30)
ดังนั้นกำไรจากการขายเหรียญในวันที่ 4 จะเท่ากับ 7,333.20 บาท  (12,000 – 4,666.80)
สำหรับต้นทุนของเหรียญ A ที่คงเหลือ 15 เหรียญ จะเท่ากับ 2,333.40 บาท (15×155.56)

การคำนวณต้นทุนแบบ Moving average จะเหมาะกับการลงทุนระยะสั้น และการลงทุนแบบ DCA กำไรหรือขาดทุนมีการถั่วเฉลี่ยตามหน่วยการลงทุน

เราสามารถเลือกคำนวณต้นทุนวิธีใดวิธีหนึ่งในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนจากการขายคริปโตในปีภาษีนั้นๆ ได้แต่ไม่สามารถใช้ทั้งสองวิธีในปีภาษีเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจเลือกว่าวิธีไหนดีกว่า เราจะต้องทดสอบการคำนวณ ทั้งสองวิธีและเปรียบเทียบว่าวิธีใดให้ประโยชน์สูงสุดทางด้านภาษี

 

#คริปโทเคอร์เรนซี #ภาษีคริปโต #Cryptotax #กำไรจากการขายคริปโต #บิทคับ 

Related Posts
Leave a Reply

Your email address will not be published.Required fields are marked *